top of page

ธุรกิจของเรา

งานของ APM ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ประกอบด้วย: -

  • สำรวจเปรียบเทียบและวิเคราะห์เป้าหมายของลูกค้ากับสถานะของอุตสาหกรรมเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน

  • ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

  • เสนอแนะให้ใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม หรือเพื่อพัฒนาบริษัทสู่ความก้าวหน้า ที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของลูกค้า

 

 

เราจะทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อบรรลุเป้าหมายของลูกค้า โดย:

  • เตรียมเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการร่วมทุน พร้อมให้คำแนะนำเรื่องโครงสร้างทางการเงิน ประมาณการทางการเงิน และโครงสร้างการลงทุนที่เหมาะสม 

  • แนะนำบริษัทบัญชีที่มีหลักเกณฑ์เป็นที่ยอมรับ บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย และพันธมิตรทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า

  • ประสานงานกับผู้สอบบัญชีของลูกค้าเพื่อตรวจสอบงบการเงิน

  • ประสานงานกับบริษัทประเมินราคาอิสระ เพื่อประเมินราคาทรัพย์สินของลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม

  • ประสานงานกับสถาบันการเงิน

  • ประสานงานกับบริษัทกฎหมายบริษัทที่ปรึกษาเพื่อจัดเตรียมเอกสารมีสัญญาที่จำเป็นทั้งหมด

ขอบข่ายงานบริการที่ปรึกษาทางการเงิน

การให้บริการด้านตลาดเงิน

- ที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับประสานงานจัดหาแหล่งเงินกู้

- ที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้

การให้บริการด้านตลาดทุน

- ที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับจัดหาผู้ร่วมทุน

- ที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับการควบรวมกิจการ

- ที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“SET”) หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (“mai”)

การให้บริการทางการเงินอื่นๆ

- การให้ความเห็นอิสระแก่ผู้ถือหุ้นทั่วไปของบริษัทจดทะเบียน หรือบริษัทมหาชน

- การร่วมกับบริษัทจดทะเบียนในการจัดทำแผนดำเนินการ เพื่อแก้ไขเหตุแห่งการถูกเพิกถอน (แผนฟื้นฟูกิจการ) เพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน

- การประเมินมูลค่าหุ้น หรือกิจการ

- การประเมินมูลค่าหุ้น หรือกิจการ

Please reload

ผลงานที่ปรึกษาทางการเงิน ของ APM 

 ปี 2552-2556

  • ที่ปรึกษาทางการเงินในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

    • บริษัท ไดเมท (สยาม) จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท บิวเดอสมาร์ท จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท เอเชีย กรีน เอนเนอจี จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท ธีระมงคล อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท ไฮโดรเท็ค จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท โปรเจค  แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท อีสต์โคสท์ เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท ช. ทวีดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท เอ ไอ เอ็นเนอร์จี จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท โอเชี่ยน คอมเมิรช จำกัด (มหาชน)

 

  • ที่ปรึกษาทางการเงินในการให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

    • บริษัท ไทยมิตซูวา จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท ยูเนี่ยนฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท ทาพาโก้ จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

 

  • ที่ปรึกษาทางการเงินในการให้ความเห็นเกี่ยวกับการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ

    • บริษัท ยูเนี่ยนฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน)

    • บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)

 

  • ที่ปรึกษาทางการเงินในฐานะผู้จัดเตรียมทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์

    • บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน)

 

  • ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระสำหรับการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของกิจการให้แก่บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน

    • บริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

 

  • ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระสำหรับการได้มาซึ่งสินทรัพย์ของกิจการ

    • บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

 
  • ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกตราสารทางการเงิน

    • บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    • บริษัท ไทยโพลีคอนส์ จำกัด (มหาชน)

 

  • ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระสำหรับทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ

    • บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

 

  • ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระสำหรับการเพิกถอนหลักทรัพย์และคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ

    • บริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

 

  • ที่ปรึกษาทางการเงินในการประเมินราคาหุ้นสามัญของกิจการ

    • บริษัท ไทยพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

ที่ปรึกษาทางการเงิน :-

 

การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพก็คือ การแนะนำให้ลูกค้าปฏิบัติตัวเป็นบริษัทที่มีการกำกับกิจการที่ดี และถูกต้อง เพราะ บริษัทก็มีความคาดหวังที่จะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ  เพื่อที่จะได้เป็นบริษัทที่มีคุณภาพในอนาคต และเติบโตอย่างยั่งยืน

ที่ปรึกษาทางการเงินจะแนะนำให้ลูกค้าเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนในหนังสือชี้ชวน และรายงานประจำปี เพราะข้อมูลทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน และผู้ที่มีส่วนได้เสียเพื่อช่วยวิเคราะห์โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีได้ตามจริง ซึ่งเป็นการสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท และความเชื่อมั่นที่ให้ผู้ซื้อ-ผู้ขายหุ้นมีความเข้าใจตรงกัน

การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (IPO)

คือการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมี่อบริษัทมองหาแหล่งเงินทุน (ที่นอกเหนือจากเงินกู้) เพื่อขยายกิจการ และต้องการกระจายการถือครองหุ้นให้ประชาชนทั่วไป ก็สามารถนำหุ้นของตนออกเสนอขายได้ โดยจะต้องทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (underwriters) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และ บริษัทผู้เสนอขายหลักทรัพย์ (Issuer) ก็จะปรึกษากับ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” เพื่อ

  • จัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนดไว้

  • หนังสือชี้ชวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์นี้จะต้องมีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อให้นักลงทุนอ่านทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจจองซื้อหุ้นได้

ประสานงานจัดหาแหล่งเงินกู้ 

 

  • แนะนำโครงสร้างการลงทุน และจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารสำหรับการพิจารณาสินเชื่อ

  • พร้อมให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆต่อไปนี้

 

  • โครงสร้างผู้ถือหุ้นที่เหมาะสม

  • โครงสร้างและกลยุทธ์ทางธุรกิจ ของบริษัทลูกค้า

  • จัดการสินทรัพย์ของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพของ

  • แนะนำวิธีการจัดเตรียมภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อลูกค้ามากสุด

  • แนะนำกฎระเบียบของหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง

จัดหาผู้ร่วมลงทุน

 

  • เตรียมข้อมูลสำหรับการพิจารณาผู้ร่วมลงทุน

  • จัดหานักลงทุนที่มีศักยภาพที่จะเป็น หุ้นส่วนทางการเงินและหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์

  • พร้อมให้คำปรึกษาบริการดังต่อไปนี้ : -

  • รูปแบบของกลยุทธ์และโครงสร้างในการร่วมทุนระหว่างธุรกิจ

  • โครงสร้างผู้ถือหุ้น

  • จัดการสินทรัพย์ของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

  • แนะนำวิธีการจัดเตรียมภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อลูกค้ามากสุด

  • แนะนำกฎระเบียบของหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง

การปรับโครงสร้างหนี้ 

 

ดำเนินการจัดเตรียม และนำเสนอแผนงานการปรับโครงสร้างหนี้แก่ลูกค้า ภายใต้ข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดย :-

 

  • จัดการสินทรัพย์ของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

  • แนะนำวิธีการจัดเตรียมภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อลูกค้ามากสุด

  • แนะนำกฎระเบียบของหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง

ซื้อ-ขาย หรือควบรวมกิจการ

 

เตรียมแผนการดำเนินงานตั้งแต่ต้นจนบรรลุเป้าหมาย พร้อมร่วมเจรจากับคู่ค้าของลูกค้า

รวมทั้งบริการให้คำปรึกษาในเรื่องต่อไปนี้ :-

  • โครงสร้างผู้ถือหุ้นที่เหมาะสม

  • โครงสร้างธุรกิจและกลยุทธ์

  • จัดการสินทรัพย์ของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

  • แนะนำวิธีการจัดเตรียมภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อลูกค้ามากสุด

  • แนะนำกฎระเบียบของหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง

ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ

 

  • ใช้การวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อหาแนวทางหรือเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย

  • ช่วยลูกค้าตั้งเป้าหมายของธุรกิจในทางการเงิน และวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น (แผนการดำเนินการ)

  • หาช่องทาง ทางการเงินโดยวางเป้าหมายของลูกค้าเป็นหลักสำคัญ พร้อมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าอย่างยืนยาว

  • เพิ่มคุณภาพการบริการให้ลูกค้า ด้วย win-win approach

บริการทางการเงินทั่วๆไป: -

 

ทำการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัท

  • Discount Cash Flow Model

  • Net Asset Value (NAV)

  • P/E Ratio

 

ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการที่ลูกค้าได้วางเป้าหมายไว้

 

ผู้ประสานงานสำหรับลูกหนี้และเจ้าหนี้

  • ประสานงานกับลูกหนี้และเจ้าหนี้เพื่อหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม

  • แจ้งให้ลูกหนี้ทราบถึงแนวทางปฏิบัติที่จะบรรลุข้อตกลงในการแก้ปัญหาของลูกหนี้

  • ประสานงานและตรวจสอบเอกสารของลูกหนี้ตามข้อเรียกร้องของเจ้าหนี้

  • จัดให้มีการประชุมเระหว่างเจ้าหนี้, ลูกหนี้ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับแผนการปรับโครงสร้างหนี้

  • ประสานงานระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้สำหรับธุรกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนการปรับโครงสร้างหนี้

  • ประสานงานกับทีมงานเจ้าหนี้และผู้สอบบัญชีในการตรวจสอบเงินสดของลูกหนี้

  • ติดตามดูแลบัญชีธุรกรรมของลูกหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างหนี้

bottom of page